วันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2560

การแต่งกายประเทศฝรั่งเศส

สไตล์บาโรก (Baroque ~1600 – 1700)
จาก ยุคก่อนหน้านี้ (สมัยเรอเนอร์สซองส์) สุ่มแบบต่างๆได้เข้ามามีบทบาทกับการแต่งตัวของสาวๆ มาถึงยุคนี้ก็ยังคงได้รับความนิยมอยู่ แต่ว่าจะมีลักษณะเปลี่ยนไปเล็กน้อยคือด้านหน้าจะแบนลง เด้งไปป่องด้านหลังแทน ตัวกาวน์ (เสื้อตัวนอก) จะเย็บรวมบอดิซ (bodice) ติดที่เอวแล้วเปิดด้านหน้าไว้ ตรงที่เปิดไว้จะใช้ผ้ารูปสามเหลี่ยมหัวกลับยาวๆ ที่เรียกว่า “สตอมัคเคอร์” (stomacher) เสริมกระดูกดุนให้แข็งๆ แล้วปักลาย หรืออัดด้วยดอกไม้ปลอมให้แน่น หรือประดับด้วยผ้าลูกไม้ แบบที่นิยมที่สุดคือการปิดด้วยริบบิ้นถักสลับไปมา เรียกว่าแบบ “เอแชล” 
(Eschelle: ขั้นบันได)
กาวน์สวมทับเพตติโคท ผูกสตอมัคเคอร์ประดับเอแชล และแขนอังกายัง 4 ชั้น
แขน เสื้อที่ยาวจรดข้อศอกประดับจีบลูกไม้ลอนฟูเรียกว่า “อังกายัง” (Engageants) แต่ในช่วงต้นของยุคบาโรก จะนิยมแขนเสื้อแบบโป่งพองฟูฝอย โดยใช้ริบบิ้นมัดเป็นช่วงๆ (นึกถึงแหนมสิตัว ,,=w=,,) แขนแบบนี้เรียกว่า “แขนวิราโก” (Virago sleeves)
แขนวิราโกกับสุ่มแบบกางออกข้าง สังเกตได้ว่ากระโปรงจะกว้างมากเพื่อที่สาวๆ จะได้สามารถอวดลายผ้าอลังการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บอดิซแขนอังกายัง 2 ชั้นกับสุ่มแบบกางออกข้าง – แน่นอนว่าเดินหน้าตรงเข้าประตูไม่ได้ ต้องเอียงข้างเข้าค่ะ
ทรง ผมที่นิยมในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงหลายแบบ เริ่มจากการหวีเปิดหน้าผาก ตลบผมไปด้านหลังแล้วม้วนเป็นลอนกุนเชียงเล็กๆ เก็บไว้ แบบนี้เรียกว่า “ทรงหัวแกะ” จะเห็นได้จากภาพต่างๆ ด้านบน ยกเว้นภาพเด็กผู้หญิงที่สวมกระโปรงแขนวิราโก เธอไว้ผมแบบ “เฮอร์ลูเบอร์ลู”
Hurluberlu (“scattered brain”) hair style – ผมทรง “ขมองกระจาย” v(=w=) (ฮา)
ช่วง ท้ายปลายยุค นอกจากสาวๆจะประดับตัวเสื้อกับกระโปรงแบบมหาศาลบานทะโรด ชนิดที่หนักมากจนต้องอาศัยห่วงเหล็กมาช่วยค้ำชุดแล้ว ทรงผมก็อลังการไม่แพ้กัน แฟชั่นสุดเก๋คือทรงแบบ “ฟองตางเก” (Fontange) โดยการเกล้าผมสูงไว้กลางศีรษะ มัดโบเล็กๆ หลายอันด้านหน้า จากนั้นประกบด้วยลูกไม้จีบเป็นแผง 3 – 4 ชั้น วนไล่ขึ้นไปเป็นยอด ด้านหลังกับด้านข้างทิ้งปอยหยิกห้อยและผูกโบว์ยาว
ผม ทรงฟองตางเก (อังกฤษเรียก “คอมโมด” :Commode) เล่ากันว่าเกิดจากตอนที่บรรดาราชวงศ์ไปล่าสัตว์ สนมคนหนึ่งของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 กลับออกมาจากพงหญ้าในสภาพหัวฟูกระเจิง เนื่องจากเธอแอบไป*ปี๊บ*กับกษัตริย์มา ด้วยความเขินจึงแก้เก้อด้วยการดึงเชือกถุงน่องมารัดผม ทำเนียนเป็นผมทรงใหม่ไฉไลไฮโซไปซะ
.
สไตล์โรโกโก (Rococo ~1700 – 1800)
พูด ถึงโรโกโก ยายดาว่าสนุกที่สุดก็คือทรงผม (หัวเราะ) ทรงผมในยุคนี้อลังการบานทะโรดมากก-กกก เรียกว่ายืนอยู่หัวคุ้ง คนท้ายคุ้งมองมาก็รู้ว่าเป็นใครนั่นแหละ (ฮา) ถ้าไม่เชื่อลองดูรูปนี้สิตัว~
ตอนเอารูปในหนังสือให้แนนดู แนนปาดเหงื่อแล้วพูดว่า “คนเราไม่ควรมีเรืออยู่บนหัวจ้ะดา” (ฮา)
อาจ จะมีคนเคยได้ยินชื่อ “วิกแบบปอมปาดัวร์” (Pompadure) ก็คือวิกลงแป้งขาวแบบนี้แหละจ้ะ ในช่วงปี 1770 เป็นช่วงที่ขนาดของมันใหญ่ขึ้นถึงขีดสุด แบบที่สาวนำสมัยนิยมใส่กันจะเป็นวิกที่มีความสูงประมาณ 90 cm (3 ฟุตบนหัวน่ะ- – นี่ไม่รวมเครื่องประดับนะคะที่รัก) แบบเบาะๆ เบๆ ก็อยู่ที่ราวๆ 30 cm โครงสร้างของผมเป็นรูปหอคอย ใช้ขนนก อัญมณี ริบบิ้นเสียบๆ เข้าไป …อา…ไม่อยากจะพูดเลยว่าที่จริงมีอะไรก็โปะลงไปนั่นแหละ (แม้แต่เรือยังโปะไปแล้วนี่คะตะเอง =w=)
ช่วง ปี 1780 เริ่มนิยมการดัดหยิกแล้วยีให้โป่งเหมือนเม่น โดยจะยีให้ผมบานออกรอบหน้า แล้วทิ้งหางยาวไว้ถักเปียด้านหลัง ทรงผมแบบนี้หนักมากเลยล่ะ (ที่จริงไม่ต้องบอกก็รู้เนอะ) แล้วก็เทอะทะมากๆ จนยายดาคิดว่านี่อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ขนาดสุ่มลดลงจากสมัยบาโรกด้วย รึเปล่านะ แบบว่าต้องคอยระวังหัว ไม่มีเวลาไปดูกระโปรงไง 😛
การ์ตูนล้อเลียนของแมกกาซีนในสมัยนั้นเกี่ยวกับวิธีการทำผมของสาวๆ (^^;)
ส่วน เสื้อผ้าจะเริ่มมีการแบ่งเป็นกาว์นกับชุดเสื้อผ้า 2 ชิ้น แบบที่นิยมกันมีอยู่ 3 แบบคือ โรบ อะลา ฟรองเซส โรบ อะลองเกลส และโรบ อะลา โปโลเนส
โร บ อะลา ฟรองเซส(Robe a’ la francaise)เป็นแบบที่นิยมในช่วง 1730 – 1780 เป็นกาว์นที่ตัดเย็บแบบมีจีบโป่งด้านหลังและรัดรูปด้านหน้า ชายด้านหลังที่ปล่อยยาวนี้เรียกว่า “วาโต แบค” (Watteau back)ชุดแบบนี้สาวฝรั่งเศสนิยมกันมาก แต่มาเลิกฮิตไปในช่วงหลังเมื่อมีหมอนหนุนสะโพกเข้ามา
โร บ อะลองเกลส(Robe a’ l’anglaise)เป็นแบบที่รัดรูปทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แบบนี้นิยมในอังกฤษและอเมริกา และได้รับความนิยมไปจนจบสมัย
โร บ อะลา โปโลเนส (Robe a’ la polonaise)เป็นชุดชั้นนอกและเพตติโคทที่มีห่วงกลมรองรับเย็บติดกับกระโปรงใน ลักษณะที่ชั้นนอกพองฟูเหมือนกับห่อกระโปรงตัวในอยู่ ความสูงของตัวโปโลเนสจะสูงประมาณข้อเท้า ไม่กองเรี่ยพื้น
นอกจากนี้ ยังมีแฟชั่นแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นอีก เช่นการประยุกต์ชุดขี่ม้าของสุภาพบุรุษมาให้สุภาพสตรีสวมใส่ แต่ประดับประดาอย่างสวยงาม ชุดแบบนี้เรียกว่า “เรดิงโกท” (Redingote) ลักษณะก็จะคล้ายกับโค้ทยาวตัวใหญ่ (greatcoat) ที่มีปกแบะออก นอกจากนี้ยังนิยมสวมแจ็กเกตกับกระโปรง แจ็กเกตจะมีลักษณะรัดรูปทรงบอดิซแล้วบานออกใต้เอว เรียกว่า “กาซาแก็ง” (Casaquin)

กาซาแก็งกับกระโปรงผ้าลินอน (โพลีเอสเตอร์ผสมลินิน) ปักลวดลาย ที่คอสอดผ้าพันคอเนื้อบางที่เรียกว่า “ฟิชู” (Fichu)
เรดิงโกท – กึ่งๆ จะเป็นชุดขี่ม้าของคุณหนูในยุคนั้น แต่สามารถใส่อยู่บ้านได้ด้วย

                   แนะนำเกร็ดความรู้

            เกี่ยวกับอาหารฝรั่งเศสแบบฟูลคอร์ส

    สำหรับอาหารฝรั่งเศสนั้น ถือว่าเป็นอาหารที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นอาหารที่รสชาติอร่อย และมีวิธีการกินและเสิร์ฟที่ประณีตละเอียดอ่อนมากแห่งหนึ่งของโลก แต่ถึงแม้ภายนอกจะดูยุ่งยาก แต่ถ้าศึกษาทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ก็จะสามารถดื่มด่ำกับสุนทรียศาสตร์แห่งอาหารฝรั่งเศสได้อย่างมีความสุข โดยบทความนี้ทางเที่ยวล่าสุดจะเสนอเกร็ดความรู้ในรูปแบบของอาหารฝรั่งเศสแบบฟูลคอร์ส ตั้งแต่อุปกรณ์ทุกอย่างที่อยู่บนโต๊ะอาหาร ตำแหน่งการจัดวาง วิธีการใช้ และลำดับการเสิร์ฟอาหารฟูลคอร์สแบบหมดเปลือกเลยทีเดียว

การจัดโต๊ะอาหารฝรั่งเศส

อย่างแรกเรามารู้จัก เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารกันก่อน เมื่อเรามานั่งที่โต๊ะอาหารปุ๊บ ความงุนงงจะบังเกิดกับเราทันทีเมื่อเห็นช้อนส้อม จาน แก้วน้ำที่วางเรียงอย่างเป็นระเบียบเบื้องหน้าเรา ส้อมนี้ใช้อย่างไร แก้วนี้ใส่เครื่องดื่มอะไร จานนี้คือจานอะไร ซึ่งไม่ต้องกังวลค่ะ ส่วนมาก จาน ส้อม และ มีด ที่จัดบนโต๊ะแบบฝรั่งเศส จะมีลำดับการจัดวาง แบบนี้

อาหารฝรั่งเศสแบบฟูลคอร์ส การจัดโต๊ะอาหารฝรั่งเศส
CR. www.idreamoffrance.com
จากภาพ การจัดโต๊ะอาหารแบบฝรั่งเศส จะแบ่งอุปกรณ์สำหรับรับประทาน อย่าง มีด กับ ส้อม เป็นสำหรับอาหารจานปลา จานเนื้อและจานขนมปัง ส่วนแก้วจะแบ่งเป็น แก้วน้ำ แก้วสำหรับไวน์แดงและไวน์ขาว และจะใช้ช้อนในกรณีที่เป็นอาหารประเภทซุปและของหวานเท่านั้น

มื้ออาหารแบบฟูลคอร์ส

ส่วนอาหารหนึ่งมื้อของชาวฝรั่งเศสนั้น โดยปกติจะแบ่งเป็น
  1. L’entree (อาหารเรียกน้ำย่อย)
  2. Le plat principal (อาหารจานหลัก)
  3. Le dessert (ของหวาน)  
โดยพื้นฐานจะมีเพียง 3 จาน และมากที่สุดถึง 17 จานต่อ 1 มื้อ แต่ถ้าอาหารมื้อนั้นเป็นอาหารฝรั่งเศสฟูลคอร์สแบบจัดเต็มที่นิยมจัด จะมีประมาณ 7-8 จาน และมีวิธีการเสิร์ฟเรียงตามลำดับ ดังนี้

1. Aperitif (อาเปคริติฟ) หมายถึง เหล้าที่ดื่มเพื่อเรียกน้ำย่อย นิยมดื่มก่อนเริ่มมื้ออาหาร เหล้าที่นิยมดื่มจะเป็นเหล้า Suze ซึ่งเป็นเหล้าที่มีส่วนผสมของดอกเจนเชี่ยน (gentiane) ที่มีสรรพคุณในการกระตุ้นน้ำย่อย มีความแรงระดับ 20 ดีกรี ถือเป็นการอุ่นเครื่องกระเพาะน้อย ๆ ให้เรียกอาหารจานต่อไปมาไว ๆ

อาหารฝรั่งเศสแบบฟูลคอร์ส อาเปคริติฟ
Photo credit nigab via Visualhunt.com
 
2. Entree (อองเทร่) หมายถึง อาหารจานเปิดตัว เมนูที่นำมาเสิร์ฟจะเป็นอาหารจำพวกผักสด อย่าง มะเขือเทศ แตงกวา หั่นเป็นแท่งเพื่อสะดวกในการหยิบรับประทาน หรือ แทร์รีน ที่ทำจากมูสผักนานาชนิดสลับเป็นชั้น ๆ กับตับบด แล้วนำไปแช่เย็นให้เป็นวุ้น บางครั้งอาจเป็นไส้กรอก กับแฮมรมควันสไลด์บาง ๆ ถือว่าเป็นอาหารเบา ๆ เพื่อรองรับอาหารจานหลักที่กำลังจะมาเสิร์ฟในไม่ช้า

อาหารฝรั่งเศสแบบฟูลคอร์ส อองเทร่
Photo credit N.essuno via VisualHunt 

3. Plat principal (ปลา แพร็งซิปาล) หมายถึง อาหารจานหลัก นิยมอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ หรือเนื้อสัตว์ปีก อย่าง เนื้อไก่ เป็ด นกพิราบ เนื้อปลา และนกกระทา เสิร์ฟพร้อมข้าว หรือเส้นพาสต้าตามชอบ

อาหารฝรั่งเศสแบบฟูลคอร์ส ปลา แพร็งซิปาล
Photo via VisualHunt

4. Salade (ซาลาด) คือ สลัดนั่นเองค่ะ ส่วนใหญ่จะเสิร์ฟเป็นสลัดผัก อาจจะเป็นสลัดใบเขียวสดกรอบพร้อมน้ำสลัดรสเข้ม หรือจะเป็นซีซาร์สลัดที่มีรสหอมมันด้วยมอสซาเรลลาชีสที่โรยมาบนสลัดผักกรุบกรอบแกล้มด้วยเบคอนทอดกรอบที่ใส่มาอย่างจุใจ อันนี้ขึ้นอยู่กับความชอบของเจ้าของงาน หรือตามความชอบของเราได้เลย

อาหารฝรั่งเศสแบบฟูลคอร์ส ชาลาด
Photo credit hallosunnymama via VisualHunt

5.Fromage (ฟร็อมมาช) คือ ชีส และ เนยแข็งหลากหลายชนิด ซึ่งฝรั่งเศสมีชีสมากกว่า 1,500 ชนิด ขอแนะนำชีสที่ขึ้นชื่อของฝรั่งเศสนั่นคือ Camembert (กามังแบร์) เป็นของขึ้นชื่อจากแคว้น Normandie มีเปลือกสีขาวห่อหุ้มเนื้อชีสสีเหลืองนวลรสชาติเข้มข้น หรือจะเป็นบลูชีส (bleu) เรียกอีกชื่อว่าชีส กอร์กอนโซลา แม้หน้าตาจะเต็มไปด้วยราสีฟ้าและกลิ่นที่ดูไม่น่ารับประทาน แต่แท้จริงแล้วราสีฟ้าที่เห็นนั้นเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ถ้าได้ลองชิมสักชิ้นจะต้องติดใจรสเปรี้ยวอ่อน ๆ และเนื้อชีสที่นุ่มละมุนแน่นอน

อาหารฝรั่งเศสแบบฟูลคอร์ส ฟร็อมมาช
Photo credit pascal.cardonna via VisualHunt
 
6.Dessert (เดสแซร์) หมายถึง ของหวาน นั่นเองค่ะ หลังจากผ่านเมนูหลายอย่าง ก็มาถึงของหวานเสียที ซึ่งของหวานนี้ จะไม่ได้จำกัดอยู่ที่เค้ก พาย หรือทาร์ตเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงไอศกรีมและผลไม้อีกด้วย

อาหารฝรั่งเศสแบบฟูลคอร์ส เดสแชร์
CR. Photo via Visual hunt
 
7.Digestif (ดีเชสติฟ) หมายถึง เหล้าที่ช่วยย่อยอาหารหลังจากผ่านอาหารมากมายหลากหลายจาน เครื่องดื่มที่เป็น Digestif จะเป็นเครื่องดื่มจำพวกแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า cointreau (ควงโทร) เป็นเหล้าที่ผลิตจากเปลือกส้ม รสชาติเปรี้ยวอมหวานติดปลายลิ้น ดื่มแล้วรู้สึกสดชื่น หรือ cognac (กอนยัค) บรั่นดีที่กลั่นมาจากน้ำองุ่นและนำมาหมักบ่มในถังไม้โอ๊คยาวนานนับปี คอนยัคที่นิยมเสิร์ฟมากที่สุดจะเป็นคอนยัคระดับ นโปเลียน ที่จะให้กลิ่นหอมชั้นเลิศและมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

อาหารฝรั่งเศสแบบฟูลคอร์ส ดีเชสติฟ
Photo credit: Matt@PEK via Visualhunt.com / CC BY-SA
 
8. Cafe (กาเฟ่) หลังจากนั้นจึงดื่มกาแฟหนึ่งแก้ว เป็นอันปิดท้ายมื้ออาหารฝรั่งเศสแบบฟูลคอร์สอย่างสมบูรณ์แบบ โดยกาแฟที่เสิร์ฟอาจเป็นกาแฟดำ พร้อมน้ำตาลและนมแยกมาต่างหากให้เติมได้ตามใจชอบ

อาหารฝรั่งเศสแบบฟูลคอร์ส กาเฟ่
Photo via Visualhunt

สำหรับมื้ออาหารแบบฟูลคอร์สนี้ อาจกินเวลายาวนานถึง 2 ชั่วโมง นับตั้งแต่เสิร์ฟเครื่องดื่มแก้วแรก จนกระทั่งตบท้ายด้วยกาแฟหอมกรุ่น นอกจากจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความประณีตในการเสิร์ฟอาหารตามลำดับเพื่อเอาใจใส่ผู้รับประทานได้มีความสุขและดื่มด่ำกับรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์แล้ว ชาวฝรั่งเศสยังอาศัยจังหวะนี้ พูดคุยกระชับมิตรกับผู้ร่วมโต๊ะอย่างไม่เร่งร้อน จึงนับว่าเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่ผู้มาเยือนเมืองน้ำหอมแห่งนี้ไม่ควรพลาด

ภูมิศาสตร์

          ภูมิศาสตร์ประเทศฝรั่งเศส

  • ภูมิประเทศ
            พื้นที่ประมาณสองในสามของประเทศฝรั่งเศสเป็นที่ราบ เทือกเขาที่สำคัญได้แก่ เทือกเขาแอล์ปซึ่งมียอดเขาที่สูงที่สุดในยุโรป คือ ยอดเขามงต์บลองก์ (Mont-Blanc) สูง 4,807 เมตร เทือกเขาปิเรเนส์ เทือกเขาจูรา เทือกเขาอาร์แดนส์ เทือกเขามาสซิฟ ซองทราลและเทือกเขาโวจช์ ประเทศฝรั่งเศสมีชายฝั่งทะเลอยู่ถึง 4 ด้าน คิดเป็นความยาวรวมทั้งสิ้น 5,500 กิโลเมตร (ทะเลเหนือ ช่องแคบอังกฤษ มหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน)

  • ภูมิอากาศ
            ประเทศฝรั่งเศสมีภูมิประเทศหลายแบบ มีทั้งภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ชายฝั่งมหาสมุทร และที่ราบตอนกลางของ ประเทศ ดังนั้นจึงมีลักษณะภูมิอากาศ ( le climlat ) แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ดังนี้
            1. ภูมิอากาศแบบชายฝั่งมหาสมุทร (le climat océanique ou atlantique) ทางด้านตะวันตกของประเทศ ลักษณะอากาศ จะไม่หนาวในฤดูหนาว แต่ฤดูร้อนจะเย็นและชื้น ฝนตกอ่อนๆตลอดปี
 
            2. ภูมิอากาศแบบทวีป (le climat continental) คือ ส่วนที่อยู่ในประเทศแถบ และทางตะวันออกของประเทศ อากาศหนาวในฤดูหนาว และในฤดูร้อนอากาศร้อน มีพายุฝน 
 
            3. ภูมิอากาศแบบภูเขา (le climat montagnard) อากาศจะหนาวมาก มีหิมะตกในฤดูหนาวและมีเวลายาวนานกว่าฤดูร้อน ที่ไม่ร้อนจัด แต่อากาศดี บริเวณนี้อาจมีฝนตกทุกฤดู 

            4. ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (le climat méditerranée) ในฤดูหนาวอากาศไม่หนาว แต่ฤดูร้อน จะร้อนมาก แสงแดดจัด เป็นบริเวณใกล้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจึงมีเมืองตากอากาศริมฝั่งมากมาย
 

            ฤดูในประเทศฝรั่งเศส ( les saisons en France ) มี 4 ฤดู ดังนี้
            1. ฤดูใบไม้ผลิ ( le printemps ) เริ่มประมาณเดือนมีนาคม ถึง เดือนมิถุนายน ฤดูนี้อากาศจะอบอุ่น ต้นไม้เริ่มผลิใบเขียว ชอุ่มและออกดอก บานสะพรั่ง เป็นฤดูแห่งความสวยงาม ( la saison des fleurs ) ท้องฟ้าสดใส 

            2. ฤดูร้อน ( l' été ) เริ่มประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน อากาศร้อนจึงเป็นฤดูแห่งวันหยุด 
( vacances d'été ) ชาวฝรั่งเศสมักไปเที่ยวพักผ่อน ตากอากาศตามชายฝั่งทะเล

            3. ฤดูใบไม้ร่วง (l'automne) เริ่มประมาณเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม อากาศแปรปรวน ท้องฟ้ามืดครึ้ม ลมแรง ฝนตกบ่อย ใบไม้เหลืองแห้งและร่วงมากมาย บริเวณป่าไม้จึงมีสีสันของใบไม้ที่หลากหลาย ทางตอนใต้ของฝรั่งเศสมี ลมแรง เรียกกันว่า ลม mistral 

            4. ฤดูหนาว (l'hiver) เริ่มเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม มีฝนและหิมะตกเป็นประจำ มีวันหยุดฤดูหนาว ( vacances de neige ) เพื่อการพักผ่อน และเล่นกีฬาฤดูหนาว เช่น การเล่นสกี ล้อเลื่อนบนหิมะ ฯ ตามภูเขา